คิดว่าสาวๆ หลายคนคงจะรู้จัก ‘โยเกิร์ต’ กันแน่นอน เพราะโยเกิร์ตขึ้นชื่อในเรื่องการควบคุมน้ำหนัก แต่จริงๆ แล้วโยเกิร์ตมีดีมากกว่านั้นเยอะนะ เรามาเรียนรู้ไปด้วยกันเถอะ
‘โยเกิร์ต’ คือ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากนม โดยการหมักระหว่างนมและโปรไบโอติกส์หรือแบคทีเรียชนิดดีตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป ซึ่งแบคทีเรียนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการฟื้นฟูและปรับสมดุลของแบคทีเรียในระบบย่อยอาหารประโยชน์ของโยเกิร์ตที่น่ารู้คือ
– โยเกิร์ตคือแหล่งพลังงานชั้นดี เพราะโยเกิร์ตหนึ่งถ้วยมีโปรตีนมากกว่านมถึง 20% ดังนั้นโยเกิร์ตจึงเป็น
อาหารทางเลือกของผู้ที่ต้องการจะลดน้ำหนัก
– โยเกิร์ตมากไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ในโยเกิร์ตมีทั้งวิตามินบี2 และ บี12 ซึ่งเป็นตัวช่วยการสร้างเม็ดเลือดและ
บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง แล้วโยเกิร์ตยังอุดมแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
– โยเกิร์ตช่วยการขับถ่าย เพราะในโยเกิร์ตประกอบด้วยแบคทีเรียชนิดดี ได้แก่ ซัลโมเนลลา อีโคไลและโคลิฟอร์ม
ซึ่งเป็นตัวช่วยระบบย่อยอาหาร ทำให้การขับถ่ายสะดวกรวมถึงรักษาอาการท้องผูกด้วย
– โยเกิร์ตช่วยทำให้หน้าใส เมื่อร่างกายขับถ่ายสะดวก ลำไส้ก็สะอาดจึงส่งผลให้ผิวหน้าใสและนอกจากการ
รับประทานโยเกิร์ตจะทำให้หน้าใสแล้ว โยเกิร์ตยังสามารถนำไปพอกหน้า เพื่อเป็นการบำรุงผิวพรรณและบรรเทาอาการอักเสบ เนื่องจากสิวได้
– โยเกิร์ตสามารถช่วยลดกลิ่นปาก ฟันผุและโรคเหงือก ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการวิจัยว่า การรับประทานโยเกิร์ต
สูตรไร้น้ำตาลจะช่วยลดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุและโรคเหงือก
– โยเกิร์ตย่อยง่ายกว่านมเหมาะกับผู้ที่มีภาวะแพ้แลคโตส สำหรับผู้ที่มีปัญหาภาวะแพ้แลคโตสไม่สามารถย่อย
เอนไซม์ในนมได้ การรับประทานโยเกิร์ตจึงเป็นทางเลือกที่ดี เพื่อจะได้ไม่เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องเสีย
– โยเกิร์ตช่วยป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตมีประโยชน์ต่อการป้องกันหรือ
รักษาอาการช่องคลอดอักเสบที่เกิดเชื้อราหรือแบคทีเรีย โดยจากการวิจัยสุภาพสตรีผู้รับประทานโยเกิร์ตได้มีอัตราการติดเชื้อราในช่องคลอดลดลง
– โยเกิร์ตมีส่วนช่วยเรื่องโรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมกับการ
รับประทานโยเกิร์ต ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น แต่จะต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์
– โยเกิร์ตช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แบคทีเรียชนิดดีในโยเกิร์ตสามารถช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้
– โยเกิร์ตช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง เพราะโยเกิร์ตมีส่วนช่วยกำจัดโซเดียมในร่างกายจึงทำให้ระดับความดัน
โลหิตลดลงไปด้วย
การรับประทานโยเกิร์ตให้ถูกวิธีไม่ได้มีอะไรยุ่งยากและมากเรื่องเลย เนื่องจากโยเกิร์ตคือ อาหารประเภทหนึ่งมิใช่ยา การรับประทานโยเกิร์ตจึงไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องรับประทานช่วยไหนเวลาใดหรือรับประทานจำนวนเท่านี้แล้วจะโรคหรืออาการนั้นๆ จะหาย การรับประทานโยเกิร์ตเป็นเพียงตัวช่วยตัวหนึ่ง ซึ่งสามารถรับประทานได้ตามความต้องการโดยอยู่ในความเหมาะสมจะเป็นการดี
ข้อควรระวังในการรับประทานโยเกิร์ต โดยทั่วไปการรับประทานโยเกิร์ตค่อนข้างมีความปลอดภัย หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรก็รับประทานโยเกิร์ตได้ตามปริมาณเหมาะสมที่รับได้ในแต่ละวัน เพียงแต่ปริมาณแบคทีเรียในโยเกิร์ตอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวี (โรคเอดส์) หรือ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ดังนั้นผู้ป่วยดังกล่าวไม่ควรจะรับประทานโยเกิร์ตเป็นปริมาณมากหรือเป็นเวลานาน ควรจะขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนจะรับประทาน
สิ่งที่จะต้อทำในการเลือกซื้อโยเกิร์ต…
1. ควรจะสำรวจตรวจเช็กวันหมดอายุที่ระบุไว้บนกล่องหรือบรรจุภัณฑ์
2. บรรจุภัณฑ์จะต้องอยู่ในภาพที่ดี ไม่ขาด ไม่รั่วหรือบุบ หากสภาพบิดยุบก็ไม่ควรจะเสี่ยงซื้อ
3. โยเกิร์ตชนิดครีม ก่อนจะรับประทาจะต้องตรวจดูว่ามีลักษณะข้นอยู่ ไม่แยกชั้นระหว่างน้ำกับนม หากเป็น
โยเกิร์ตพร้อมดื่มจะต้องไม่มีตะกอนที่ก้นขวด
4. โยเกิร์ตที่ยังไม่หมดอายุควรตรวจดูว่ามีสีเปลี่ยนไปหรือกลิ่นผิดไปจากเดิมหรือเปล่า หากมีความเปลี่ยนแปลงก็
ไม่ควรจะรับประทาน
5. การเลือกซื้อโยเกิร์ตควรจะเลือกวันผลิตที่ใกล้เคียงกับวันที่ซื้อให้มากที่สุดหรือวันหมดอายุยังอีกนาน
6. การเลือกซื้อโยเกิร์ตรสธรรมชาติน่าจะดีกว่าโยเกิร์ตที่มีการปรุงแต่งเพิ่มรสชาติ
7. ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและรับประทานอาหารตามหลักโภชนาอาจไม่จำเป็นจะต้องรับประทานโยเกิร์ตก็ได้
การรับประทานโยเกิร์ตควบคู่ไปกับยารักษาโรคควรจะระมัดระวังเรื่องปฏิกิริยาหรือผลข้างเคียงดังนี้…
– ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลีน เช่น ยามิโนไซคลีนปละเตตราไซคลีน การรับประทานโยเกิร์ตควบคู่กับยาชนิดนี้
จะเกิดปฏิกิริยาการจับตัวยาในท้องและลดการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดน้อยลง เนื่องจากในโยเกิร์ตมีแคลเซียมเป็นตัวที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานี้ ฉะนั้นควรจะงดรับประทานโยเกิร์ต 2 ชั่วโมง ก่อนการใช้ยาและ งด 4 ชั่วโมง หลังการใช้ยาชนิดนี้
– ยาไซโปรฟลอกซาซิน การรับประทาโยเกิร์ตควบคู่กับยาชนิดนี้อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง เช่นนั้นจึง
ควรจะเว้นระยะห่างการรับประทานโยเกิร์ตหลังจากรับประทานยาไปแล้ว 1 ชั่วโมง
– ยาประภทลดภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาทิ ยาอะซาธโอพรีน บาซิลิซิแมบ ไซโคลสปอรีน ทาโครลิมัส ไซโล
ลิมัส เพรดนิโซน ยากลุ่มคอร์ดิโคสเตียรอยด์และอื่นๆ ยาประเภทนี้ไม่ควรจะรับประทานร่วมกับโยเกิร์ต เพราะจะทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่ออาการป่วยอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียและยีสต์ในโยเกิร์ตได้
โยเกิร์ตต่างมีทั้งคุณประโยชน์และข้อควรระวัง เช่นนั้นพึงศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนจะรับประทานนะจ๊ะ